น้ำร้อนลวก อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ส่วนมากมักเกิดความประมาทและขาดความระมัดระวังในบางครั้งจนทำให้น้ำร้อนโดนผิวหนังได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งกลไกการบาดเจ็บหลังถูกน้ำร้อนลวกจะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับความร้อน อวัยวะที่ถูกน้ำร้อนลวก ความลึกและความกว้างของบาดแผล
ระดับความรุนแรงของแผลน้ำร้อนลวก
หากถูกน้ำร้อนลวกเพียงเล็กน้อยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนเล็กน้อยและหายไปเองได้ แต่หากเป็นแผลกว้างและลึกอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ โดยสามารถแบ่งระดับความลึกของบาดแผลได้อยู่ 3 ระดับ ดังนี้
- ความลึกระดับ 1 (First Degree Burn) เป็นอาการของแผลน้ำร้อนลวกที่ถือว่าเบาที่สุด ซึ่งแผลจะได้รับผลกระทบบนชั้นผิวหนังกำพร้าเท่านั้น ใช้ระยะเวลาเพียงสั้นๆ ในการรักษาแผลให้หาย โดยจะรู้สึกแสบร้อนประมาณ 72 ชั่วโมงแล้วอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง ลักษณแผลจะแห้ง ไม่มีตุ่มพุพอง ไม่ทิ้งรอยแผลเป็นหรืออาการเจ็บปวดใด ๆ
- ดีกรีความลึกระดับ 2 (Second Degree Burn) เป็นการบาดเจ็บของแผลน้ำร้อนลวกในบริเวณชั้นผิวหนังแท้ ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ชั้นหนังแท้ส่วนตื้นกับชั้นหนังแท้ส่วนลึก ซึ่งอาจแยกความต่างของแผลทั้ง 2 ลักษณะได้ยาก แต่ถือเป็นบาดแผลที่เจ็บมากเหมือนกัน บางครั้งอาจเกิดตุ่มพุพองบนผิวหนังและรู้สึกแสบร้อนได้ จึงควรรักษาแผลก่อนที่จะติดเชื้อและมักจะอาการดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่หากไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดแผลเป็นตามมาได้
ความลึกระดับ 3 (Third Degree Burn) เป็นบาดแผลที่กระทบชั้นผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากชั้นผิวหนังได้รับความเสียหาย รวมถึงเซลล์ประสาทได้รับความเจ็บปวดจากการที่ชั้นผิวหนังจะถูกทำลาย จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนน้อยกว่าแผลระดับ 2 ส่วนลักษณะของบาดแผลจะมีสีซีดขาว นูน หดตึง มีโอกาสที่แผลจะติดเชื้อได้สูง ซึ่งแผลจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี หมั่นทายา แล้วผิวหนังจะค่อย ๆ ฟื้นฟูภายใน 14-28 วันแต่มักมีแผลเป็นตามมาด้วย
วิธีปฐมพยาบาลแผลน้ำร้อนลวกเบื้องต้น
โดยทั่วไปสิ่งแรกที่ควรทำเมื่อถูกน้ำร้อนลวก คือ รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่มีบาดแผลเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวด จากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาดและสังเกตผิวหนังว่ามีรอยถลอก มีตุ่มพองใส หรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไปหรือไม่ หากอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกน้ำร้อนลวกอาจปฐมพยาบาลตามระดับความลึกของแผลในเบื้องต้นได้ ดังนี้
- แผลที่มีความลึกระดับ 1 ควรลดอาการแสบร้อน เจ็บปวดบริเวณนั้นด้วยการล้างน้ำสะอาดในอุณหภูมิปกติ หรือใช้น้ำอุณหภูมิห้องให้ไหลผ่านแผลประมาณ 5 นาที ซึ่งวิธีนี้จะช่วยชะลอเนื้อเยื่อถูกทำลายลงได้ จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าสะอาด หากมีตุ่มพุพองเกิดขึ้น หรือสีผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- แผลที่มีความลึกระดับ 2 มีวิธีปฐมพยาบาลเหมือนกับแผลระดับ 1 แต่ถ้าแผลกว้างประมาณ 10-15 ฝ่ามือ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อก หรือถ้าแผลนั้นเกิดขึ้นบริเวณที่เสี่ยงอย่าง ใบหน้า ปาก จมูก จะส่งผลกระทบต่อการเกิดผลแทรกซ้อนได้ง่าย การระคายเคืองของแผล หรือการหายใจลำบาก ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- แผลที่มีความลึกระดับ 3 ในกรณีแผลน้ำร้อนลวกเช่นนี้ ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะเป็นบาดแผลที่อันตราย ถ้าขนาดของแผลใหญ่มากถึง 10 – 15 ฝ่ามือ อาจปฐมพยาบาลได้เหมือนกันกับแผลระดับ 1 และระดับ 2
คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผลน้ำร้อนลวก
- แผลน้ำร้อนลวกอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและช็อกได้ ในกรณีที่มีบาดแผลกว้างและลึก จึงรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนจะมีส่วนช่วยให้แผลน้ำร้อนลวกฟื้นฟูได้ดียิ่งขึ้น
- ไม่ควรทายา ล้างบาดแผลด้วยสรรพคุณยาที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะยาสีฟัน เพราะจะทำให้แผลเกิดการระคายเคืองหรือติดเชื้อได้
- แผลน้ำร้อนลวกบริเวณใบหน้าต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด โดยห้ามใส่ยาทุกชนิดก่อนถึงมือแพทย์ เพราะอาจเกิดการระคายเคืองรุนแรงได้
จะเห็นได้ว่า การถูกน้ำร้อนลวกนั้นสามารถทำให้เกิดบาดแผลใด้หลายระดับ ซึ่งผู้ที่ถูกน้ำร้อนลวกควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที แต่หตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด จึงควรทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมอุบัติเหตุจากน้ำร้อนลวกเอาไว้เพื่อความอุ่นใจยามฉุกเฉิน โดยสามารถเลือกแผนประกันสุขภาพจาก Rabbit Care ที่ครอบคลุมอุบัติเหตุ แถมดูแลครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าห้อง พร้อมอำนวยความสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง สามารถเปรียบเทียบแผนจ่ายออนไลน์โดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายได้ที่ https://rabbitcare.com/health-insurance